สายดินและหลักดิน
ประโยชน์ของสายดิน ป้องกันไม่ให้มีผู้ถูกไฟฟ้าดูดกรณีมีกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไหลลงดินทางสายดิน โดยไม่ผ่านร่างกายผู้สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น เป็นผลทำให้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และ/หรือไฟฟ้ารั่วจะตัดกระแสไฟฟ้าออกทันที เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารอาจทำงานได้ไม่สมบูรณ์หรือชำรุดได้ง่ายหากไม่มีสายดิน |
|||||||||
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องมี/ไม่มีสายดิน เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ต้องมีสายดิน เครื่องใช้ไฟฟ้ารวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าที่มีโครงหรือเปลือกหุ้มเป็นโลหะ ซึ่งบุคคลมีโอกาสสัมผัสได้ ต้องมีสายดิน เช่น ตู้เย็น, เตารีด, เครื่องซักผ้า, หม้อหุงข้าว, เครื่องปรับอากาศ, เตาไมโครเวฟ, กระทะไฟฟ้า, กระติกน้ำร้อน, เครื่องทำน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น, เครื่องปิ้งขนมปัง เป็นต้น เราเรียกครื่องใช้ฯ เหล่านี้ว่าเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภท 1 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ไม่ต้องมีสายดิน
|
|||||||||
สัญลักษณ์และสีของสายดิน
|
|||||||||
วิธีติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้อง
|
|||||||||
ผังแสดงการต่อลงดินและการต่อสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า 1 = Protective conductor (P.E.) หรือ equipment grounding conductor (EGC) สายดินอุปกรณ์ ไฟฟ้า 2 = main equipotential bonding conductor (สายต่อฝากหลักหรือสายต่อประสานหลัก) 3 = earthing conductor, grounding electrode conductor (สายต่อหลักดิน) 4 = supplementary equipotential bonding conductors, bonding jumper (สายต่อฝาก หรือสายต่อประสาน) B = main earthing terminal, main earthing bar, ground bus (ขั้วต่อลงดินหลัก) M = exposed-conductive-part (โลหะเปลือกนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้า) C = extraneous-conductive-part (ตัวนำหรือโลหะส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้า) P = main metallic water pipe (ท่อน้ำโลหะ)T = earth electrode (หลักดิน) |
|||||||||
เครื่องตัดไฟรั่วคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์ของเครื่องตัดไฟรั่ว
|
|||||||||
ประเภทเครื่องตัดไฟรั่ว เครื่องตัดไฟรั่วจะมีอยู่หลายประเภท ในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
|
|||||||||
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินต้องใช้ปลั๊กไฟที่มีเฉพาะ 3 ขา เท่านั้นหรือ ไม่จำเป็นต้องใช้ปลั๊กไฟ 3 ขา ปลั๊กไฟที่มีสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะมีเพียง 2 ขา โดยมีขั้วสายดิน 2 แถบ อยู่ด้านข้างของตัวปลั๊ก ดังนั้นการติดตั้งเต้ารับที่มี 3 รู จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อการต่อ ลงดิน และยังเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตและใช้อุปกรณ์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลอีกด้วย |
|||||||||
เครื่องตัดไฟรั่วกับสายดินอย่างไหนจะดีกว่ากัน
- สายดิน เป็นความจำเป็นอันดับแรกที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องมีสำหรับ ป้องกันไฟฟ้าดูด เพื่อให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงสายดินได้โดยสะดวก โดยไม่ผ่านร่างกาย (ไฟไม่ดูด) และทำให้เครื่องตัดไฟ อัตโนมัติตัดไฟออกได้ทันที |
|||||||||
เครื่องตัดไฟรั่วที่ใช้ป้องกันไฟดูดต้องมีคุณสมบัติและการใช้งานอย่างไร พิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วต้องไม่เกิน 30 mA และตัดไฟได้ภายในระยะเวลา 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (=150 mA)ควรติดตั้งใช้งานเฉพาะจุด เช่น วงจรเต้ารับในห้องครัว, ห้องน้ำ, ห้องเด็ก ๆ หรือวงจรเต้ารับ/สายไฟที่ต่อไปใช้งานนอกอาคารทั้งชั่วคราวและถาวร ถ้าจะติดตั้งรวมที่เมนสวิตช์จะต้องแยกวงจรที่มีค่าไฟรั่วตามธรรมชาติมากออกไป เช่น อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า,เครื่องปรับอากาศ, อุปกรณ์ที่มีโอกาสเปียกชื้น เมื่อต้องการให้เครื่องตัดไฟรั่วสามารถป้องกันทุกวงจรที่เมนสวิตช์ (ใช้ได้เฉพาะระบบที่มีสายดิน เป็นมาตรการเสริมป้องกันอัคคีภัย และไฟฟ้าดูด) ให้ใช้ขนาดตั้งแต่ 100 mA เป็นต้นไป โดยอาจเป็น 300 mA หรือ 500 mA ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟรั่วตามธรรมชาติ สำหรับขนาด 30 mA นั้นก็ยังคงใช้ร่วมกันในวงจรย่อยซึ่งอาจใช้หลายตัวก็ได้ และหากมีปัญหาการทำงานพร้อมกันให้เลือกชนิดที่มีการหน่วงเวลา (Type S) สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วที่เมนสวิตช์ |
|||||||||
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องตัดไฟรั่วที่มีอยู่ปลอดภัย เราสามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่วได้ด้วยเครื่องตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่ว การกดปุ่มทดสอบเป็นประจำเป็นเพียงการบอกว่าการรับสัญญาณและกลไกสามารถทำงานได้เท่านั้นอย่างไรก็ตามความปลอดภัยยังขึ้นอยู่กับการติดตั้งว่าถูกต้องหรือไม่ด้วย |
|||||||||
|
|||||||||
หลักดิน หลักดินต้องทำด้วยวัสดุที่ทนต่อการผุกร่อน และไม่เป็นสนิม เช่น แท่งทองแดง แท่งเหล็กชุบหรือหุ้มด้วยทองแดงโดยต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. (5/8 นิ้ว) และยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร ถ้าเป็นเหล็กหุ้มด้วยทองแดง ต้องมีความหนาของทองแดงไม่ต่ำกว่า 0.25 มม. และต้องหุ้มอย่างแนบสนิทไม่หลุดออกจากกัน และไม่มีปลายเหล็กโผล่ออกมาสัมผัสกับเนื้อดิน เพื่อไม่ให้เหล็กเป็นสนิม และต้องไม่มีการเจาะรูเพื่อยึดทองแดงกับเหล็กให้ติดกัน มิฉะนั้นแท่งเหล็กจะเป็นสนิมตามรูที่เจาะนั้น ห้ามใช้อะลูมิเนียมหรือโลหะผสมของอะลูมิเนียมเป็นหลักดิน หลักดินที่ดีควรผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน UL- 467 การต่อสายดินเข้ากับหลักดินนั้น อุปกรณ์ต่อหลักดิน และสายต่อหลักดิน ควรใช้วัสดุชนิดเดียวกันเพื่อไม่ให้มีปัญหาการกัดกร่อน เช่นหลักดินทองแดงต่อกับสายต่อหลักดินทำด้วยทองแดง ควรใช้วิธีเชื่อมต่อด้วยผงทองแดงโดยเผาให้หลอมละลาย (ต้องเทผงชนวนให้อยู่ผิวบนและจุดด้วยปืนจุดชนวนเท่านั้น) ถ้าใช้วิธียึดด้วยแรงกลก็ต้องใช้หัวต่อที่มีส่วนผสมของทองแดง และ ต้องมีความมั่นคงแข็งแรงและทนต่อการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี (มีการทดสอบตามมาตรฐาน) |
|||||||||
หลักดินที่ดีเมื่อตอกลงดินแล้วต้องมีความต้านทานการต่อลงดินไม่เกิน 5 โอห์ม ตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวงเนื้อดินบริเวณที่ตอกหลักดินที่ดีควรเป็นดินแท้ ๆ และต้องไม่ถูกกั้นหรือล้อมรอบด้วยหิน, กรวด, ทราย หรือแผ่นคอนกรีต เพราะเป็น อุปสรรคต่อการแพร่กระจายของประจุไฟฟ้าลงสู่ดิน ทำให้ความต้านทานการต่อลงดินมีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐาน (ในกรณีที่ใช้หลักดินตามมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวงและสภาพพื้นที่และเนื้อดินไม่มีอุปสรรคในดินแล้ว ความต้านทานการต่อลงดินในเขตบริการของการไฟฟ้านครหลวงจะไม่เกิน 5 โอห์มเสมอ ห้ามใช้ตะปูคอนกรีตตอกเข้าไปในผนังหรือพื้นคอนกรีต เพราะตะปูคอนกรีต ไม่สามารถทำหน้าที่แทนหลักดิน เพื่อการต่อลงดินได้ ตำแหน่งของหลักดินควรอยู่ใกล้จากตู้เมนสวิตซ์ ห้ามแช่หลักดินในน้ำเพราะเมื่อมีไฟรั่วจะแพร่กระจายไปกับน้ำและเกิดอันตรายกับผู้ที่อยู่ในน้ำ ถ้าจำเป็นต้องตอกหลักดินในน้ำต้องตอกให้มิดดิน ขนาดของสายต่อหลักดินจะขึ้นอยู่กับขนาดสายเมน และต้องไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม. โดยควรมีท่อหรือฉนวนหุ้มอยู่ด้วย การตอกหลักดินควรตอกให้ลึกที่สุดถ้าเป็นหัวต่อหลักดินชนิดยึดด้วยแรงกลคควรให้หัวต่อโผล่พ้นดิน หรือระดับน้ำท่วมเพื่อหลีกเลี่ยงการผุกร่อน หัวต่อชนิดหลอมละลายสามารถตอกให้จมดินได้ แต่ต้องใช้สายต่อเส้นใหญ่ และหุ้มฉนวนมิดชิดเพื่อไม่ให้สายผุกร่อน |