PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector

ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยภายในอาคาร

ดึงอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือในบริเวณใกล้เคียง
ดึงอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือในบริเวณใกล้เคียง
ถ้าเพลิงยังมีขนาดเล็กพอที่จะดับเพลิงเองได้ ให้ใช้ถังดับเพลิงมือถือ เข้าทำการดับเพลิง
ถ้าเพลิงยังมีขนาดเล็กพอที่จะดับเพลิงเองได้ ให้ใช้ถังดับเพลิงมือถือ เข้าทำการดับเพลิง
ถ้าคิดว่าไม่สามารถดับเพลิงได้ให้รีบอพยพหนี ออกจากพื้นที่ทันที และให้ปิดประตูห้อง
ถ้าคิดว่าไม่สามารถดับเพลิงได้ให้รีบอพยพหนี ออกจากพื้นที่ทันที และให้ปิดประตูห้อง
การหนีไฟให้ใช้บันไดเท่านั้น ห้าม!ใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด
การหนีไฟให้ใช้บันไดเท่านั้น ห้าม!ใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด
 
  1. ข้อควรปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน เมื่อพบเหตุ เพลิงไหม้
    • ดึงอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือในบริเวณใกล้
    • ถ้าเพลิงยังมีขนาดเล็กพอที่จะดับเพลิงเองได้ให้ใช้ ถังดับเพลิงมือถือเข้าทำการดับเพลิง
    • ถ้าคิดว่าไม่สามารถดับเพลิงได้ให้รีบอพยพหนี ออกจากพื้นที่ทันทีและให้ปิดประตูห้อง
    • การหนีไฟให้ใช้บันไดเท่านั้น ห้าม! ใช้ลิฟต์โดย เด็ดขาด

    ในกรณีไฟไหม้เสื้อผ้าที่สวมใส่

    • หยุดห้ามวิ่งหรือเดินต่อ เพราะไฟจะลุกลามง่ายขึ้น
    • ล้มตัวลงและนอนราบกับพื้น
    • ใช้มือสองข้างปิดหน้าและแขนแนบลำตัว
    • กลิ้งตัวทับไฟไป/มา จนกระทั่งเปลวเพลิงมอดดับ ก่อนร้องขอความช่วยเหลือ

    เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณแจ้งเหตุเตือนภัย

    • อย่าตื่นเต้น ตกใจ! และอย่าห่วงทรัพย์สิน
    • อพยพออกจากพื้นที่เพื่อไปยังบันได โดยพยายาม สังเกตและหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีควันหรือมีความร้อน
    • เมื่อท่านอพยพออกมาจากอาคารได้แล้ว
    • ห้ามกลับเข้าไปในอาคารอีกโดยเด็ดขาด
    • หากท่านทราบหรือพบว่ายังมีคนติดอยู่ ภายในอาคารให้แจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
    • ให้รออยู่บริเวณที่ปลอดภัยภายนอก อาคารหรือบริเวณ ที่รวมพล พร้อมทั้งติดต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ของอาคาร เพื่อแจ้งชื่อและรายละเอียดประจำตัวท่าน ทั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอย่างยิ่ง

  2. ข้อควรปฏิบัติ (สำหรับบ้านพักอาศัย)
    • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันอัตโนมัติ บริเวณภายใน ห้องนอน และทางเดินหน้าห้องนอน หรืออย่างน้อยชั้นละ 1 ชุด
    • จัดเตรียมถังดับเพลิงมือถือขนาด ที่สามารถใช้ได้ สะดวก อย่างน้อยชั้นละ 1 ชุด
    • จัดเตรียมให้มีช่องทางออกจากอาคาร ที่สามารถ ใช้ได้ทุกเวลา และซ้อมการหนีไฟให้เคยชิน
    • หน้าต่างที่ติดตั้งเหล็กดัด ต้องมีช่องที่เปิดได้อย่างน้อย 1 บานทุกห้อง
    • ใช้งานด้วยความระมัดระวังและ หมั่นตรวจสอบสภาพ พื้นที่ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ห้องครัว ห้องบูชาพระ ห้องเก็บของ และห้องเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
    • อย่าเก็บวัสดุไวไฟ น้ำมันก๊าด ทินเนอร์ ไว้ในบ้าน เป็นจำนวนมาก
    • ไม้ขีดไฟ, ไฟแช็ค ให้เก็บไว้ในที่มิดชิดระวัง เด็กนำไปเล่น
    • ขณะปรุงอาหารไม่ควรทำงานอย่างอื่น
    • อย่าสูบบุหรี่บนเตียงนอน
    • ก่อนเข้านอนให้ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า, เตาแก๊ส ฯลฯ

    (สำหรับโรงแรม .. ก่อนเข้าพัก)

    • ตรวจทางหนีไฟดูไว้อย่างน้อย 2 ทาง
    • ตรวจตำแหน่งอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือ, อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนภัยและอุปกรณ์ดับเพลิง
    • ตรวจดูแผนผังอาคารที่ประตูห้องพักด้านใน เพื่อให้รู้ถึง ตำแหน่งห้องที่พักและทางหนีไฟ ที่ใกล้เคียงอย่างน้อย 2 ทาง
    • ตรวจสภาพการเปิด-ปิดประตู บันไดหนีไฟจะต้องอยู่ใน สภาพที่ใช้งานได้ และไม่มีการปิดล๊อค
    • ตรวจอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟว่าติดตั้ง หน้าห้องพัก และในห้องพักหรือไม่
    • ภายในห้องพักจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจจับควัน อัตโนมัติ และสังเกตสภาพความพร้อมในการทำงาน โดยดูที่ ไฟกระพริบสีแดงที่ตัวอุปกรณ์
    • ภายในห้องพักควรจะมีอุปกรณ์ฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย เป็นต้น
  3. (สำหรับศูนย์การค้า .. ก่อนเข้าใช้บริการ)

    • ตรวจทางหนีไฟ ศึกษาแผนผังอาคาร
    • หมั่นสังเกตและตรวจสอบดูป้ายบอกทาง หนีไฟขณะ ใช้บริการ
    • อย่าตกใจเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งเตือนภัยหรือไฟฟ้าดับ ให้รีบจูงเด็กเล็ก (ถ้ามี) เดินออกนอกอาคารทันที
 

ที่มา : คู่มือความปลอดภัยด้านอัคคีภัยภายในอาคารสำหรับประชาชน โครงการอบรม การป้องกันอัคคีภัยในอาคาร 4 ภาค จัดโดยสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ